วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างโปรแกรมภาษา

โครงสร้างโปรแกรมภาษาต่อไปนี้

          1. Pascal
โครงสร้างของโปรแกรมภาษาปาสคาล
โปรแกรมภาษาปาสคาลประกอบด้วยส่วนสำคัญต่าง ๆ  3  ส่วนคือ
1.  ส่วนหัวโปรแกรม  (program  heading)
ส่วนหัว  (Heading)
                ประกอบด้วยประโยคเพียงประโยคเดียว  ดังรูปแบบ
                            Program  ชื่อโปรแกรม;
ชื่อโปรแกรม  เป็นไปตามกฎเกณฑ์การตั้งชื่อของปาสคาล  และจะต้องไม่ซ้ำกับชื่ออื่น ๆ ภายในโปรแกรม
2.  ส่วนประกาศ  (program  declarations)
                โปรแกรมภาษาปาสคาลแตกต่างจากบางภาษาที่ต้องมีการกำหนดชื่อและชนิดของตัวแปรที่จะใช้ในโปรแกรมเสียก่อน  ส่วนประกาศโปรแกรมได้แก่บริเวณตั้งแต่หลังส่วนหัวไปจนถึงข้อความก่อนคำว่า  Begin  ของโปรแกรมหลัก  ส่วนประกาศโปรแกรมจะประกอบด้วย
1.      ส่วนประกาศเลเบล  Labal
2.      ส่วนประกาศชื่อค่าคงที่  Const
3.     ส่วนกำหนดแบบข้อมูล  Type
4.     ส่วนประกาศตัวแปร  Var
5.     ส่วนโปรแกรมย่อย  Procedure/Function
                ส่วนใดไม่ได้ใช้ก็ไม่ต้องประกาศ

3.  ส่วนคำสั่งการทำงาน  (program  statements)
                ส่วนคำสั่งของโปรแกรม  จะอยู่ต่อจากส่วนประกาศ  ขึ้นต้นด้วย  Begin  และจบด้วย  End.  ช่วงระหว่าง 2 คำนี้จะเป็นคำสั่ง     จะต้องแยกแต่ละคำสั่งออกจากกันด้วย;  โดยคำสั่งแต่ละคำสั่งจะมีผลให้มีการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง  
           Begin
                   คำสั่งที่ 1;
                   คำสั่งที่ 2;
                         .
                         .
                         .
                   คำสั่งที่ n; 
           End.

2.              C
โครงสร้างของภาษา C
                  ในโปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษา C ทุกโปรแกรมจะมีโครงสร้างการพัฒนาไม่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วนหลัก ๆ โดยที่แต่ละส่วนจะมีหน้าที่แตกต่างกัน




 




1. ส่วนของเฮดเดอร์ไฟล์ (Header File or Processing Directive) ส่วนนี้จะมีจุดสังเกตที่สำคัญคือจะขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ การทำงานของคอมไพเลอร์จะทำงานในส่วนนี้เป็นส่วนแรก ในส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บไลบรารีมาตรฐานของภาษา C ซึ่งจะถูกดึงเข้ามารวมกับโปรแกรมในขณะแปลภาษาโปรแกรม (Compile) โดยใช้คำสั่ง
# include ซึ่งสามารถเขียนได้ 2 รูปแบบ คือ


รูปแบบที่ 1 : #include<HeaderName>
รูปแบบที่ 2 : #include “HeaderName”
โดยที่ HeaderName เป็นชื่อของ header file
ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างกันคือ แบบ <…..> คอมไพเลอร์จะค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์จากไลบรารีของภาษา C เพียงที่เดียวเท่านั้น ส่วนที่ใช้เครื่องหมาย “……” คอมไพเลอร์จะค้นหาเฮดเดอร์ไฟล์จากไลบรารีที่เก็บ Source Code ของเราก่อน ถ้าหากไม่เจอจะไปค้นหาที่ไลบรารีของภาษา C เฮดเดอร์ไฟล์จะมีนามสกุลเป็น .h เท่านั้น เฮดเดอร์ไฟล์ที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ stdio.h
2. ส่วนของตัวแปร Global เป็นส่วนประกาศตัวแปรที่สามารถใช้ได้ทั้งโปรแกรม ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้
3. ส่วนของฟังก์ชัน (Function) เป็นส่วนการทำงานของโปรแกรม ในโครงสร้างภาษา C จะบังคับให้มีอย่างน้อย 1 ฟังก์ชันคือ ฟังก์ชัน main() ซึ่งเป็นฟังก์ชันเริ่มการทำงานของโปรแกรม (คอมไพเลอร์จะประมวลผลที่ฟังก์ชัน main() เป็นฟังก์ชันแรก) โดยในขอบเขตของฟังก์ชันจะเริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย { และสิ้นสุดด้วยเครื่องหมาย }
4. ส่วนของตัวแปร Local เป็นส่วนประกาศตัวแปรที่สามารถใช้ได้เฉพาะภายในฟังก์ชันของตนเองเท่านั้น ส่วนนี้จะมีหรือไม่มีก็ได้
5. ส่วนของตัวโปรแกรม เป็นส่วนคำสั่งการทำงานของโปรแกรม โดยที่คำสั่งแต่ละคำสั่งจะต้องจบด้วยเครื่องหมาย ; เสมอ
6. ส่วนของตัวส่งค่ากลับ เป็นส่วนของการส่งค่าข้อมูลกลับเมื่อฟังก์ชันจบการทำงาน โดยค่าที่ส่งกลับจะต้องเป็นค่าที่มีชนิดของข้อมูลตรงกับชนิดของข้อมูลที่ ฟังก์ชันคืนค่ากลับ (Return Type) ในกรณีไม่ต้องการให้มีการส่งค่ากลับ สามารถกำหนดได้โดยใช้คีย์เวิร์ด void

3. Basic
ภาษาเบสิก (BASIC programming language) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และยังได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ เบสิกออกแบบมาให้ใช้กับคอมพิวเตอร์ตามบ้าน
ชื่อภาษาเบสิก หรือ BASIC ย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ
บริษัทไมโครซอฟท์ได้นำภาษาเบสิกมาปรับปรุงให้ทันสมัย และพัฒนาเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม Visual Basic ทำให้เบสิกได้รับความนิยมในการพัฒนาโปรแกรมยุคใหม่ รุ่นล่าสุดของวิชวลเบสิกเรียกว่า VB.NET

ประเภทของค่าในภาษา Basic

! : Single-precision
# : Double-precision
$ : String
% : Integer
& : Long

เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์

* : เครื่องหมายคูณ
- : เครื่องหมายลบ
= : เครื่องหมายแสดงความเท่ากันหรือตั่งค่า
> : เครื่องหมายมากกว่า
+ : เครื่องหมายบวก
. : จุดทศนิยม
< : เครื่องหมายน้อยกว่า
\ : เครื่องหมายหารเต็มจำนวน
^ : เครื่องหมายยกกำลัง

4.Assembly

โครงสร้าง assembly



 


คำ สั่งในภาษาแอสแซมบลี แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกกำหนดการทำงาน เรียกว่า OP-CODE (Operation Code) ส่วนที่สองเรียกว่า Operand มีหน้าที่กำหนดเกี่ยวกับข้อมูล
OP-CODE อยู่ในไบท์แรกของคำสั่งภาษาแอสแซมบลีแทนด้วยตัวอักษร ส่วนภาษาเครื่องแทนด้วยเลขฐาน 2 สองบิทแรก ในไบท์นี้เป็นตัวกำหนดความยาวของคำสั่งนั้นด้วย 
5. JAVA
public class ชื่อคลาส
{
      public static void main(String[] agrs)
     {
          ประโยคคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม;
          ..................................................;
     }
}

ตัวอย่างโปรแกรมภาษาจาวา
ไฟล์ Example.java
class Example
{
     public static void main(String[] args)
    {
          String dataname = “Java Language“;
          System.out.println(“My name is OAK“);
          System.out.println(“OAK is a “ + dataname +“. “);
     }
}
หมายเหตุ
Compile : javac Example.java จะได้ไฟล์ Example.class
Run         : java Example
Output    : My name is OAK
                  OAK is a Java Language

คำอธิบาย

- method main( ) จะเป็น method หลักที่ใช้ในการ run program ดังนั้นการกระทำต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้น ในการ run program จะต้องทำการเขียนคำสั่งไว้ใน method นี้
- การแสดงผลทางจอภาพ (Console Output) ใช้ method ชื่อ "println" ซึ่งอยู่ใน System.out คำสั่งนี้จะรับข้อมูลที่เป็น String เพื่อนำมาแสดงผลทางจอภาพ
6. Cobol

โครงสร้างภาษาโคบอลเราจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

1.             ส่วนประกอบของโปรแกรม ภาษาโคบอล
2.             สัญลักษณ์ ที่ใช้ในภาษาโคบอล
3.             ประเภทของคำ
4.             ตัวแปร และ ค่าคงที่
5.             แบบฟอร์ม สำหรับการเขียนโปรแกรม COBOL (COBOL CODING FORM)
6.             การใช้เครื่องหมายวรรคตอน



IDENTIFICATION DIVISION
  • ชื่อโปรแกรม
  • ชื่อผู้เขียนโปรแกรม
  • วันที่เขียนโปรแกรม
ENVIRONMENT DIVISION
  • รายละเอียดของตัวเครื่อง(CONFIGURATION SECTION)
  • รายละเอียดสิ่งที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล(INPUT/OUTPUT SECTION)
DATA DIVISION
  • รายละเอียดของแฟ้มข้อมูล(FILE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลอื่น ๆ(WORKING-STORAGE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลที่รับมาจากโปรแกรมอื่น ๆ(LINKAGE SECTION)
  • รายละเอียดของข้อมูลที่ให้แสดงบนจอภาพ
PROCEDURE DIVISION
  • PARAGRAPH 1
  • PARAGRAPH 2
  • PARAGRAPH 3-------[STATEMENT I;I' = 1(N)1